วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

รู้จัก ก่อนเลือกซื้อ

ขอออกตัวไว้ก่อนนะครับ เพราะตัวผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงอะไรนัก
บทความต่อไปนี้จะเป็นแค่แนะนำให้รู้จัก หูฟังที่น่าสนใจและน่าจะหามาไว้ใช้กัน
เพิ่อเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลงที่ดียิ่งขึ้น เพราะแอมป์ในตัวของ IPOD ก็ได้ชื่อว่า
มีคุณภาพเสียง และกำลังขับสูงสามารถขับหูฟังได้เกือบทุกรุ่นที่มีขายโดยที่ ไม่ต้องใช้
แอมป์ช่วย
และเนื่องจากเงินทองเป็นของนอกกาย แต่ก็ไม่ได้หามาง่ายๆ ก่อนจะซื้ออะไรควรคิด
ให้รอบคอบจะ ได้รู้สึกพอใจกับมันจะได้ไม่ต้องเสียตังค์หลายรอบไงครับ
มาเริ่มกันที่ชนิดของหูฟังกันดีกว่า มันแบ่งเป็นกลุ่มตามลักษณะการใช้งานได้ 3 ประเภทดังนี้
- Full-Size
- Semi Full-Size
- Micro-Size

Full-size แน่นอนครับมันมีขนาดใหญ่โต และรุ่น TOP ของมันมีราคาแพงกว่า
ประเภทอื่น โดยอาจจะเป็นหูฟังที่มีลักษณะแบบครอบทั้งใบหู หรือแนบบนใบหูก็เป็นได้
ส่วนมากแล้วหูฟังแบบ Full-Size จะเหมาะสำหรับการใช้งานแบบส่วนตัวและอยู่กับที่
ไม่เหมาะสำหรับการพกพาไปไหนมาไหน เช่นฟังอยู่บ้านหรือหูฟังที่ต้องใช้งานประเภท
Monitor ในห้องบันทึกเสียง บางคนเลือกที่จะเล่นมันแทนเครื่องเสียงขนาดใหญ่
เพราะหูฟังรุ่น TOP กับแอมป์หูฟังดีๆสักตัวราคาจะอยู่ในหลักหมื่นแต่ให้เสียงเหมือน
เครื่องเสียงหลักแสน และก็......... แต่ฟังได้ทีละคนเท่านั้นนะจ๊ะ





ต่อไปก็เป็นหูฟังแบบ Semi Full-size จะเป็นหูฟังที่มีขนาดเล็กกว่า Full-Size พอสมควร สามารถพกพาไปฟังข้างนอกบ้านได้โดยสะดวก เสียงที่ได้ก็ใกล้เคียงกับ Full sizeและหลายๆรุ่นก็มีการออกแบบที่สวยงามเรียกว่าเสียงดีและก็เท่ห์ด้วย




Micro Size เป็นหูฟังที่มีขนาดเล็กลงจาก Full-size 4-5 เท่า เพื่อให้สามารถพกพาได้ง่ายขึ้น และใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นหูฟังที่มียี่ห้อที่หลากหลายมากที่สุด แต่ก็เป็นหูฟังที่ทำให้มีคุณภาพดีได้ยากที่สุดเช่นเดียวกัน เพราะขนาดของ Driver(ชาวบ้านเรียก ดอกลำโพง) ที่เล็กมาก ทำให้คุณภาพและมิติเสียงด้อยกว่า แบบ Full-Size และ Semi Full-Size ไม่ใช่ว่าหูฟังแบบนี้เสียงไม่ดีไปซะหมดนะครับ แน่นอนมีหลายรุ่นที่ทดลองฟังแล้วแทบหงายหลัง
หูฟังแบบ Micro-Size นั้นสามารถแยกย่อยออกมาได้ 3 ประเภทหลักๆดังนี้
Earbud ( เหน็บหู )
In-Ear ( ยัดหู )
Hybrid ซึ่งเป็นลูกผสมของ In-ear และ Earbud ( คนอื่นมองเห็นเป็นแบบ เหน็บหู แต่คนใส่บอกเหมือนมีอะไรมายัดหู มันทำให้ฉงน จนไม่ค่อยมีคนซื้อมาใช้ )




Earbud หูฟังที่แถมมากับเครื่องเล่นของคุณไงครับส่วนใหญ่เป็นหูฟังประเภทนี้ออกแบบให้ Driver เหน็บอยู่กับใบหูของเราจ่ออยู่ตรงรูหูพอดีทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกใส่นานๆแล้วไม่ปวดหู















In-Ear (IEM)หูฟังประเภท In-ear นั้น แรกเริ่มเดิมที ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานใน Studio หรือสำหรับนักร้องบนเวที ชื่อเต็มของมันก็คือ IEM หรือ In Ear Monitor นั่นเองการใส่ก็จะมีส่วนประกอบของหูฟังที่เป็นซิลิโคนเสียบเข้าไปในรูหู มีผลทำให้เก็บเสียงได้ดีและป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกเรียกได้ว่าไม่ได้ยินอะไรภายนอก นอกจากเสียงกลืนน้ำลายของตัวเองก็แล้วกัน ข้อดีคือเสียงดีและชัดเจนครับ ข้อเสียถ้ายี่ห้อไหนเสียงไม่ดีใส่แล้วจะมึนหัวมากบริษัทที่ผลิตเจ้าแรกคือ Shure , Westone ครับ





Hybrid การออกแบบก็เหมือนเอาหูฟังแบบ เหน็บหูมาเอาฟองน้ำออกและใส่ซิลิโคนให้มันเสียบเข้าไปในหูของเราแทนและก็มีเสียงเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองครับแล้วแต่คนชอบ




ขอพูดถึงหูฟังอีกแบบนึงนะครับคือแบบ Clip-On ที่เรียกแบบนี้ เพราะมีส่วนก้านของหูฟังล๊อคเข้าที่ก้านหู ของเราทั้งสองข้าง ค่อนข้างล๊อคติดแนบแน่นกับหูเราพอสมควร ช่วยให้ไม่หลุดง่าย มีทำออกมาขายไม่ค่อยหลายรุ่นเท่าไรนัก แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีตำนานของหูฟังรุ่นนี้เกิดขึ้นมาจนได้ ที่ว่ามานั้นคือยี่ห้อKOSS - KSC35 , KSC75 เป็นหูฟังที่ได้รับความนิยมทั่วโลกและมีคนนำมาโมมากที่สุด จุดเด่นของรุ่นนี้คือ เบสมันส์มากๆและราคาก็อยู่ที่ประมาณ 900 - 1200 เท่านั้น
ถึงตอนนี้มาสรุปรายงานเสียงกันดีกว่าครับ
- Full-Size ไม่ค่อยมีข้อจำกัดในการออกแบบทำให้สามารถสร้างสรรค์เสียงออกมาได้มีมิติและแยกเสียงดนตรีได้ดี ราคาก็สูงตามไปด้วย
- Semi Full-Size เสียงดีอาจใกล้เคียงกับ Full Size แต่ไม่เท่าแต่พกพาง่ายกว่าใส่สบายกว่า
- Micro-Size (ขอเทียบในกลุ่มของตัวเองก็แล้วกันครับ)
- Earbud ( เหน็บหู )เสียงโปร่งสบาย มีมิติเสียงที่ดี แยกชิ้นเครื่องดนตรีได้ดีพอควร ใส่ฟังเพลงได้นาน
- In-Ear ( ยัดหู )เสียงมีความคมชัดมากแยกชิ้นเครื่องดนตรีดี ไม่ค่อยมีมิติหรือ เวทีแคบลงนั่นเอง
- Hybrid ไม่เคยฟังจ๊ะ
- Clip-On เสียงคล้าย Semi Full-Size
- หูแถม เสียงดีพอเหมาะ ฟังเพลงได้ทุกประเภท ประหยัดเงิน
สุดท้ายนี้ตัวกำหนดคุณภาพเสียงที่แท้จริงคือราคาของมันนั่นเองครับEarbud ตัวละ 3000 ย่อมดีกว่า Full size ราคา 1500 ครับ



























































































































































































































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น